วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทโพชฌังคปริตร

บทโพชฌังคปริตร
 
      โพชฌังโค  สะติสังขาตา          ธัมมานัง  วิจะโย  ตะถา
วิริยัมปีติปัสสัทธิ-                            โพชฌังคา  จะ  ตะถาปะเร
สะมาธุเปกขะโพชฌังคา                 สัตเตเต  สัพพะทัสสินา
มุนินา  สัมมะทักขาตา                     ภาวิตา  พะหุลีกะตา
สังวัตตันติ  อะภิญญาญะ                 นิพพานายะ  จะ  โพธิยา
เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                    โสตถิ  เต  โหนตุ  สัพพะทาฯ
เอกัสมิง  สะมะเย  นาโถ                 โมคคัลลานัญจะ  กัสสะปัง
คิลาเน  ทุกขิตา  ทิสสะวา               โพชฌังเต  สัตตะ  เทสะยิ
เต  จะ  ตัง  อะภินันทิตตะวา            โรคา  มุจจิงสุ  ตังเขณะ
เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                     โสตถิ  เต  โหตุ  สัพพะทาฯ
เอกะทา  ธัมมะราชาปิ                      เคลัญเญนาภิปีฬิโต
จุนทัตเถเรนะ  ตัญเญวะ                   ภะณาเปตตะวานะ  สาทะรัง
สัมโมทิตตะวา  จะ  อาพาธา            ตัมหา  วุฏฐาสิ  ฐานะโส
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ                     โสตถิ เต โหตุ สัพพะทาฯ
ปาหินา  เต  จะ  อาพาธา                 ติณณันนัมปิ  มะเหสินัง
มัคคาหะตะกิเลสาวะ                       ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                    โสตถิ  เต  โหนตุ  สัพพะทาฯ
 
อาณุภาพของพระคาถาบทนี้  คือ  ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ  และรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้
สวดทุกวันสามารถป้องกันโรคภัยไข้เจ็บนานับประการได้ดียิ่ง

มงคลชีวิต 38 ประการ

มงคลชีวิต 38 ประการ
 
     มงคลชีวิต 38 ประการ  เปรียบเสมือนบันไดที่เป็นขั้นตอนการปฏิบัติ และพัฒนาชีวิต เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่สมบูรณ์ที่สุด แบ่งแยกการพัฒนาเป็น 3 ขั้นตอนหลักดังนี้
 
ขั้นพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่  มงคลข้อ 1 - 18
ขั้นพัฒนาปรับปรุงจิตใจ  มงคลข้อ 19 - 30
ขั้นสูงสุดสู่เป้าหมาย คือ นิพพาน  มงคลข้อ 31 - 38
 
มงคลชีวิต 38 ประการมีดังนี้
 
          ขั้นพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ มงคลข้อ 1 - 18
  1. การไม่คบคนพาล
  2. การคบบัณทิต
  3. การบูชาคนที่ควรบูชา
  4. การอยู่ในถิ่นอันสมควร
  5. ความเป็นผู้ที่ได้ทำบุญไว้ในปางก่อน
  6. ไม่เพลิดเพลินเกินไปในโลกีย์
  7. การได้ฟังมาก
  8. ความมีศิลปะวิทยา
  9. ความมีระเบียบวินัยที่ดี
  10. วาจาการพูดดี
  11. การเลี้ยงดูบิดามารดา
  12. การสงเคราะห์บุตร
  13. การสงเคราะห์คู่ครอง
  14. การงานที่ไม่คั่งค้าง
  15. การให้ทาน
  16. การประพฤติปฏิบัติธรรม
  17. การสงเคราะห์หมู่ญาติ
  18. ทำกิจการงานที่ไม่มีโทษ
  19.  
    ขั้นพัฒนาปรับปรุงจิตใจ มงคลข้อ 19 - 30
     
  20. การงดเว้นจากความชั่ว
  21. การงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา
  22. ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย
  23. ความเป็นผู้มีสัมมาคารวะ
  24. ความเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตน
  25. ความพอใจในสิ่งที่ตนมี
  26. ความเป็นผู้กตัญญู
  27. การฟังธรรมตามสมควร
  28. ความอดทน
  29. ความเป็นผู้ว่านอนสอนง่าย
  30. การได้พบสมณะ
  31. การสนทนาธรรมตามกาล
  32.  
    ขั้นสูงสุดสู่เป้าหมาย คือ นิพพาน มงคลข้อ 31 - 38
     
  33. การบำเพ็ญเพียร
  34. การประพฤติพรหมจรรย์
  35. การเห็นอริยสัจ
  36. การทำพระนิพพานให้แจ้ง
  37. จิตใจที่ไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
  38. จิตที่ไม่เศร้าโศก
  39. จิตที่ปราศจากธุลี
  40. จิตอันเกษม
 "มงคลชีวิต"  คือบันไดสู่ความสำเร็จของชีวิต
 
 


วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

"รักษาศีล" ทางมาแห่งรูปสมบัติ

"รักษาศีล" ทางมาแห่งรูปสมบัติ
 
ความหมายของศีล
 
ศีล  หมายถึง  ความตั้งใจที่จะงดเว้นความชั่ว ความไม่ดีทุกประการ และ ศีลนั้นทำให้คนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
 
ศีล ๕  คือ  ศีลขั้นพื้นฐานที่ทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ
 
ศีล ๕ คืออะไร ?
 
ศีล ๕ คือ มนุษยธรรม  หรือธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์
 
มนุษย์มีเหตุผล รู้จักยับยั้งชั่งใจ  แต่สัตว์ไม่มีสิ่งเหล่านี้  เมื่อใดที่มนุษย์มีศีล ๕ ครบ  ความเป็นมนุษย์ก็สมบูรณ์  แต่เมื่อใดศีล ๕ ขาด  ความเป็นมนุษย์ก็ลดลงนั้นเอง
 
การตั้งใจงดเว้น ๕ ประการมีดังนี้
ข้อ ๑ ตั้งใจงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
ข้อ ๒ ตั้งใจงดเว้นจากการลักขโมย
ข้อ ๓ ตั้งใจงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
ข้อ ๔ ตั้งใจงดเว้นจากการพูดเท็จ พูดหยาบคาย ส่อเสียด เพ้อเจ้อ
ข้อ ๕ ตั้งใจงดเว้นจากการดื่มสุราเมรัย

ข้อดีของการปฏิบัติตามศีล ๕ ดังกล่าวขั้นต้นนั้น  จะทำให้เรามีจิตใจที่อ่อนโยน มีเมตตา จึงส่งผลให้มีจิตใจที่สงบ สะอาดและเยือกเย็น และเป็นบุคคลผู้ไม่ผูกโกรธ ผิวพรรณก็จะผุดผ่องใสไปด้วยส่งผลทั้งชาติภพนี้และชาติหน้า  "ศีล  จึงเป็นทางมาแห่งรูปสมบัตินั่นเอง"



วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

รวบรวมอานิสงส์ของการทำบุญในรูปแบบต่างๆ

1. นั่งสมาธิอย่างน้อยวันละ 15 นาที
  • สติปัญญาเฉลียวฉลาดขึ้นทั้งในภพชาติปัจจุบัน  และภพหน้า
  • จิตใจจะสว่าง  ผ่อนปรนจากกิเลส  ปล่อยวางได้ง่าย
  • จิตจะรู้วิธีแก้ไขปัญหาได้เองโดยอัตโนมัติ
  • ชีวิตจะรุ่งเรืองไม่มีอับจน
  • ผิวพรรณผ่องใส  สุขภาพกายและจิตแข็งแรง
  • เจ้ากรรมนายเวร  และญาติผู้ล่วงลับจะได้รับผลุญกุศล

2. สวดมนต์ด้วยพระคาถาต่างๆ อย่างน้อยวันละครั้ง
  • สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง
  • ชีวิตจะเจริญก้าวหน้า  แคล้วคลาดจากอุปสรรค
  • จิตจะเป็นสมาธิได้เร็ว

3. ถวายยารักษาโรคให้วัด  หรือออกเงินค่ารักษาให้แก่พระ
  • ก่อให้เกิดสุขภาพที่ดีทั้งครอบครัว
  • อายุยืน
  • ถ้าป่วยจะไม่ขาดแคลนการรักษา
  • โรคที่ไม่หายก็จะทุเลา

4. อานิสงส์ของการไม่กินเนื้อสัตว์
  • เป็นที่รักของเทพ พรหมเทวดา ตลอดจนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย
  • จิตอันเป็นมหาเมตตาย่อมบังเกิด
  • สามารถตัดความอาฆาต ดับอารมณืแค้นในใจลงได้
  • ปราศจากโรคภัยร้ายแรงเบียดเบียน
  • ได้รับความคุ้มครองจากเทวดาทั้งปวง
  • ยามหลับนิมิตเห็นแต่สิ่งดีงามเป็นสิริมงคล
  • ย่อมระงับการจองเวร สลายความอาฆาตแค้นซึ่งกันและกัน
  • ทันทีที่ละสังขารจากโลกนี้จิตจะมุ่งไปสู่สุคติภูมิ

5. อานิสงส์ของการบวชชีพราหมณ์
  • เจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน
  • เจ้ากรรมนายเวรจะอโหสิกรรมให้
  • สุขภาพแข็งแรง  สติปัญญาผ่องใส
  • เป็นปัจจัยสู่พระนิพพานในภพชาติถัดไป
  • สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองภัย ผ่อนหนักเป็นเบา
  • จิตใจสงบ ปล่อยวางง่าย มองเห็นสัจธรรมของชีวิต
  • ตอบแทนพระคุณของพ่อแม่ได้เต็มที่

บาปหนักจากการทำแท้ง

บาปหนักจากการทำแท้ง

   ส่วนใหญ่วิญญาณเหล่านี้จะอาฆาตกับผู้ที่เป็นแม่  เพราะตายขณะอยู่ในท้องแม่  แต่ผู้เป็นพ่อก็เช่นเดียวกันแต่ไม่มาก  (ถือเป็นการสร้างกรรมร่วมกัน)  กลายเป็นเจ้ากรรมนายเวร
  
   ดังนั้น  "ผู้ที่ทำแท้ง" จะไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต  มีปัญหาหนักใจเสมอเพราะแรงอาฆาตของวิญญาณเด็ก  เมื่อกำลังจะทำอะไรได้สำเร็จก็จะถูกตัดรอนความสำเร็จ  เพราะวิญญาณเด็กนั้น  เป็น "เจ้ากรรมนายเวร"

   แต่เมื่อพลาดไปแล้ว  ทั้งที่ตั้งใจหรือไม่  ควรสร้างบุญสร้างกุศลใหญ่  แล้วอุทิศไปให้เขา  เพื่อคลายความโกรธแค้น  ให้จิตของเขาไปสู่ภพภูมิที่สูงขึ้น  จนให้การอโหสิกรรม


วิธีการทำสังฆทานใหญ่เพื่อดวงวิญญาณที่ถูกทำแท้ง

สิ่งของประกอบด้วย
  1. พระพุทธรูป (หน้าตักมากกว่า 7 นิ้ว)
  2. ผ้าไตรจีวร
  3. ชุดบวช
  4. เครื่องอัฐบริขาร
  5. ภัตตาหาร พร้อมน้ำดื่ม
  6. หนังสือสวดมนต์  (เขียนชื่อเด็กไว้ด้วย)
  7. ยา
  8. บ้านไม้หลังเล็ก  (ติดป้ายชื่อเด็กไว้ที่บ้านนี้ด้วย)
เตรียมของให้พร้อม  ตั้งจิตให้สงบนิ่งพยายามอุทิศให้เขาเพียงคนเดียวและขออโหสิกรรมให้เขายกโทษและให้อภัย  และขอให้ช่วยส่งเสริมเราให้มีชีวิตที่ดีขึ้น

อานิสงส์ของการให้ทาน

อานิสงส์ของการให้ทาน

พระพุทธเจ้าทรงตรัสอานิสงส์ของการให้ทานไว้ดังนี้
  1. ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
  2. คนดีเป็นอันมากย่อมพอใจคบหาผู้ให้ทาน
  3. ชื่อเสียงอันดีงามของผู้ให้  ย่อมฟุ้งขจรไป
  4. ผู้ให้ย่อมแกล้วกล้าอาจหาญ  ไม่เก้อเขินในที่ประชุม
  5. ครั้นละโลกนี้ไป  ผู้ให้ย่อมบังเกิดในสุขคติโลกสวรรค์
ทานของบุคคล ๔ กลุ่ม

พระพุทธเจ้าได้จำแนกบุคคล ๔ กลุ่ม ที่มีพฤติกรรมการให้ทานที่แตกต่างกันไว้ดังนี้
  1. ผู้ที่ทำทานด้วยตัวเอง  แต่ไม่ชวนใครทำทานเลย  ซึ่งจะร่ำรวยแต่ขาดบริวาร
  2. ผู้ที่ชวนคนอื่นทำ  แต่ตนเองไม่ทำ  จะยากจนแต่มีบริวารมีพรรคพวกมาก
  3. ผู้ที่ไม่ทำทาน  และไม่ชวนผู้อื่นทำทาน  จะจนทั้งทรัพย์และบริวาร
  4. ผู้ที่ทำทานด้วยตนเอง  และชวนผู้อื่นทำทาน  จะรวยทั้งทรัพย์และบริวาร

"การทำทาน" 2 (ทานที่มีผลมากน้อย ๑๕ ลำดับ)

ต่อจากตอนที่แล้วนะคะ...การให้ทานที่มีผลมากน้อย ๑๕ ลำดับ

๑.ทำทานกับสัตว์เดรัจฉฉาน  แม้จะมากถึง๑๐๐ ครั้ง  ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้กับมนุษย์
๒.ให้ทานกับมนุษย์ที่ไม่มีศีล  แม้จะมากถึง๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้แก่ผู้ที่มีศีล ๕
๓.ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๕  แม้จะมากถึง๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้แก่ผู้ที่มีศีล ๘
๔.ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๘  แม้จะมากถึง๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายแก่สามเณรผู้ที่มีศีล ๑๐
๕.ถวายทานแก่สามเณรซึ่งมีศีล ๑๐  แม้จะมากถึง๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายแก่ผู้ที่มีศีล๒๒๗ หรือสมมติสงฆ์
๖.ถวายทานแก่พระสมมติสงฆ์  แม้จะมากถึง๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายแก่พระโสดาบัน
๗.ถวายทานแก่พระโสดาบัน  แม้จะมากถึง๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายแก่พระสกิทาคามี
๘.ถวายทานแก่พระสกิทาคามี  แม้จะมากถึง๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายแก่พระอนาคามี
๙.ถวายทานแก่พระอนาคามี  แม้จะมากถึง๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายแก่พระอรหันต์
๑๐.ถวายแก่พระอรหันต์  แม้จะมากถึง๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า
๑๑.ถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า  แม้จะมากถึง๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
๑๒.ถวายแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  แม้จะมากถึง๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายสังฆทานที่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน
๑๓.การถวายสังฆทานที่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน  แม้จะมากถึง๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายวิหารทาน
๑๔.การถวายวิหารทาน  แม้จะมากถึง๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการ... "ให้อภัยทาน"
๑๕.แต่การให้ที่ได้บุญมากที่สุด  ได้แก่  "การให้ธรรมทาน"
เพราะการให้ธรรมทานนั้น  เป็นการช่วยให้ผู้ที่ยังไม่รู้ได้รู้  หรือผู้ที่รู้อยู้แล้วได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
ทำให้คนได้เข้ามารักษาศีล ปฏิบัติธรรม จนเข้าถึงมรรคผลนิพพานกันในที่สุด

( ติดตามต่อกับตอนหน้านะคะ ยังมีเรื่องที่น่าสนใจอีกมากค่ะ)

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

"การทำทาน" ทางมาแห่งทรัพย์

ทาน...ทางมาแห่งทรัพย์สมบัติ
 
ทาน  คือ  การให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ  ไม่หวังผลตอบแทน
 
ทานเป็นหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ซึ่งโดยทั่วไปจะเข้าใจผิดว่า  การถวายของแกะพระภิกษุคือ "ทำบุญ"
แต่ให้ของแก่บุคคลยากไร้คือ "ทำทาน" แต่จริงแล้วการให้นั้นไม่ว่าจะกับใครคือ "การทำทาน" ทั้งสิ้น
และไก้บุญทั้งนั้น
 
ทาน  แบ่งตามวัตถุที่ให้ มี ๒ ประเภท  คือ
๑.อามิสทาน  คือการให้สิ่งของเป็นทาน
๒.ธรรมทาน  คือการให้ความรู้ ความถูกต้องดีงามเป็นทาน
 
อามิสทาน  แบ่งตามคุณภาพของสิ่งของที่ทำทานได้เป็น ๓ อย่าง
     ๑.ทาสทาน  คือให้ของที่ด้อยกว่าตนใช้  ได้บุญน้อย
     ๒.สหายทาน  คือให้ของที่เสมอกับตนใช้  ได้บุญมากขึ้น
     ๓.สามีทาน  คือให้ของที่ดีกว่าตนเองใช้  ได้บุญมากที่สุด
นอกจากนี้การให้ทานยังขึ้นอยู่กับ "เจตนา" ของผู้ให้อีกด้วย  ถ้าให้ทานแบบเฉพาะเจาะจงบุคคล
ก็ย่อมจะได้บุญน้อยกว่าให้ทานแก่หมู่คณะโดยไม่เจาะจงหรือที่เรียกว่า "สังฆทาน"
 
ธรรมทาน  แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท
     ๑.วิทยาทาน
     ๒.อภัยทาน
 
การให้ทานที่มีอานิสงส์มาก
การให้ที่ได้บุญมากมีผลนับประมาณมิได้  ตามหลักของพระพุทธศาสนา  จะต้องครบด้วยองค์ประกอบ
๓ ประการ  คือ
     ๑.วัตถุบริสุทธิ์
     ๒.บคคลบริสุทธิ์
     ๓.เจตนาบริสุทธิ์
 
พระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า  "แม้วัตถุทานจะบริสุทธิ์ก็ดี  เจตนาจะบริสุทธิ์ก็ดี  การทำทานที่ให้ได้ผลมากหรือน้อยนั้น  ขึ้นอยูกับเนื้อนาบุญเป็นลำดับ"  และมีอยู่ด้วยกันถึง ๑๕ ลำดับด้วยกัน
ซึ่งจะขอบรรยายต่อไปในตอนที่ 2 นะคะ...


บุญ คำสั้นๆที่มีความหมายเกินจะพรรณนา

บุญ...คืออะไร???  อยู่ที่ไหน???

"บุญ"  คือพลังงานอย่างหนึ่ง  ซึ่งละเอียด  ประณีตและทรงพลังอย่างยิ่ง
เป็นเครื่องชำระล้างจิตใจให้ใสสะอาด  บริสุทธิ์  ผ่องใส  ห่างไกลจากกิเลสและเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง

น่าเสียดายที่คนทั่วไปมองไม่เห็นบุญ  จนบางคนไม่เชื่อว่า  "บุญมีจริง"  และ  "บาปก็มีจริง"
แม้ว่าเราจะยังมองไม่เห็นบุญ  แต่เวลาที่เราทำบุญนั้นเราสามารถรับรู้ได้ถึงกระแสบุญ  ที่หลั่งไหลมาสู่ตัวเรา  เช่น  เวลาที่เราทำทาน  รักษาศีล  หรือเจริญภาวนา  "บุญจะหลั่งไหลมาสู่ใจเรา"  ทำให้เรารู้สึกสบายใจ  จิตใจผ่องใส  ซึ่งอาการความรู้สึกเหล่านี้ คืออาการของบุญ

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐  คือทางมาแห่งบุญ ๑๐ ประการ
  1. ทานมัย  คือบุญที่เกิดจากการทำทาน
  2. ศีลมัย  คือบุญที่เกิดจากการรักษาศีล
  3. ภาวนามัย  คือบุญที่เกิดจากการเจริญสมาธิภาวนา
  4. อปจายนมัย  คือบุญที่เกิดจากการอ่อนน้อมถ่อมตน
  5. เวยยาวัจจมัย  คือบุญที่เกิดจากการช่วยเหลือการงานที่ถูกที่ควร
  6. ปัตติทานมัย  คือบุญที่เกิดจากอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้อื่น
  7. ปัตตานุโมทนามัย  คือบุญที่เกิดจากการอนุโมทนา
  8. ธัมมัสสวนมัย  คือบุญที่เกิดจากการฟังธรรม
  9. ธัมมเทสนามัย  คือบุญที่เกิดจากการแสดงธรรม
  10. ทิฏฐชุกัมม์  คือบุญที่เกิดจากการทำความเห็นให้ตรงตามความเป็นจริง
 
มีบุญ...สำเร็จทุกอย่าง
 
"บุญ"  มีอาณุภาพมากสามารถดึงดูดสมบัติทั้ง ๓ คือ  "รูปสมบัติ  ทรัพย์สมบัติ  คุณสมบัติ"  ให้เกิดกับเราได้  เพราะอานุภาพแห่งบุญนั้นยิ่งใหญ่สุดประมาณ
 
ช่วงไหนเรามีบุญมาก  และบุญกำลังส่งผล  สมบัติต่างๆก็จะไหลมาเทมาหาเรา
เมื่อไหร่ที่เรามีบุญน้อย  หรือหมดบุญ  สมบัติที่มีอยู่ก็จะค่อยๆลดน้อยลงไปนั่นเอง
 
บุญ...เปรียบเสมือนน้ำในคลอง
บาป...เปรียบเสมือนตอที่อยู่ใต้น้ำ
ชีวิต  เปรียบเสมือนเรือที่แล่นไปในน้ำ  ถ้ามีบุญมากเหมือนน้ำในคลองมาก  บาปที่เปรียบเสมือนตออยู่ใต้น้ำก็ทำอะไรเราไม่ได้  เรือก็แล่นไปได้อย่างสะดวกเหมือนชีวิตที่ราบรื่นก้าวหน้า
ถ้าบุญน้อยก็เหมือนน้ำน้อย  ตอก็ผุด  เรือก็ติดตอ  จะประกอบการงานใดก็ติดขัดไปหมดนั่นเอง
 
บุญ ๓ ประการที่จะนำพาไปสู่การสร้างบารมีที่ยิ่งใหญ่นั้นก็คือ...
  • การทำทาน
  • รักษาศีล
  • การเจริญภาวนา
ซึ่งจะขอกล่าวต่อไปทีละหัวข้อโดยละเอียด  เริ่มจาก "การทำทาน"  ในบทถัดไปนะคะ ^^

กฎแห่งกรรม (ตอนที่ 2)

กฎแห่งกรรม (ตอนที่ 2)
 
"กรรม"  คนส่วนมากมักมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี  มีแต่โทษไม่ให้คุณ  และก็ยังเป็นความเชื่อกันโดยมากถึงปัจจุบัน  เพราะมีอะไรไม่ดีเกิดขึ้นส่วนมากคนเราก็มักจะโทษ  "กรรม"
 
 
แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น  "กรรม"  เป็นคำที่มีความหมายกลางๆ  ซึ่งในทางพระพุทธศาสนาหมายถึง  "การกระทำ"
 
"กรรม"  จึงแบ่งเป็น ๒ ประเภทด้วยกัน  คือ  "กุศลกรรม"  หรือกรรมดี  คือการสร้างความดี
และ  "อกุศลกรรม"  หรือกรรมชั่ว  คือการทำในสิ่งที่ผิด  ไม่ดี  ไม่ปฏิบัติตนอยู่ในศีล๕
 
ซึ่งในทางพระพุทธศาสนานั้น  "กรรม"  ไม่ใช่สิ่งที่เกิดแล้วจะเห็นผลทันตา  หรือทันทีทันใดแล้วจะหมดสิ้นไป  แต่...จะติดตัวหรือจิต(ดวงวิญญาณ)  ของบุคคลผู้นั้นไปตลอด  ทั้งชาติภพนี้และต่อๆไปจนกว่าจะหลุดพ้นการเวียนว่ายตายเกิดนั่นเอง
 
พระพุทธองค์ตรัสถึงกฎแห่งกรรมไว้ว่า...
 
หากใครกล่าวร้ายเรื่องกฎแห่งกรรม...
ชาติหน้าก็จะไม่ได้เกิดเป็นคนอีก  (เกิดในอบายภูมิ)
 
หากเชื่อถือยึดมั่นในกฎแห่งกรรม...
ความเจริญมั่งมีศรีสุข  ก็จะมาเยือนถึงบ้าน
 
หากใครคอยแนะนำเผยแพร่เรื่องกฎแห่งกรรม...
ก็จะเจริญยิ่งๆขึ้นไปชั่วลูกชั่วหลาน
 
หากใครยึดมั่นในกฎแห่งกรรม...
เคราะห์ภัยพิบัติจะอยู่ห่างไกลตัว
 
หากใครเที่ยวบรรยายเรื่องกฎแห่งกรรม...
ทุกๆชาติไปจะเป็นบุคคลที่มีปัญญาเลิศ
 
หากใครหมั่นสวดมนต์ในเรื่องกฎแห่งกรรม...
ชาติหน้า  ไปถึงไหนก็มีแต่คนนับถือ
 
หากใครพิมพ์หนังสือเรื่องกฎแห่งกรรม...
ชาติหน้า  จะมีกายมงคลรุ่งโรจน์
 
อย่าพูดว่ากฎแห่งกรรมไม่มีใครเห็น...
เพราะกรรมถ้าสนองเร็ว  ก็ตกที่ตัวเอง  ถ้ากรรมสนองช้า  ก็ตกที่ลูกหลาน

พระคาถาเงินล้าน โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน

พระคาถาเงินล้าน
(โดย...หลวงพ่อพระราชพรหมยาน)
 
(ตั้งนะโม  ๓  จบ)
 
สัมปะจิตฉามิ
นาสังสิโม
พรหมมา  จะ  มหาเทวา  สัพเพยักขา  ปะรายันติ
พรหมมา  จะ  มหาเทวา  อภิลาภา  ภะวันตุ  เม
มหาปุญโญ  มหาลาโภ  ภะวันตุ  เม
มิเตพาหุหะติ
พุทธะมะอะอุ  นะโมพุทธายะ  วิระทะโย  วิระโคนายัง
วิระหิงสา  วิระทาสี  วิระทาสา  วิระอิทธิโย  พุทธัสสะ
มานีมามะ  พุทธัสสะ  สวาโหม  (อ่านว่า  สะ-หวา-โหม)
สัมปะจิตฉามิ
เพ็งๆ  พาๆ  หาๆ  ฤาๆ
 
บูชา  ๙  จบ  หลวงพ่อบอกว่าเป็นเบี้ยต่อไส้
ถ้าภาวนา  ควบกับอานาปานุสติ  จิตจะยิ่งสะอาดจะยิ่งเห็นผล

คำกล่าวถวายสังฆทาน

คำกล่าวถวายสังฆทาน
 
อิมานิ  มะยัง  ภันเต,  ภัตตานิ,  สะปะริวารานิ,  ภิกขุสังฆัสสะ,  โอโณชะยามะ,
สาธุ  โน  ภันเต,  ภิกขุสังโฆ,  อิมานิ,  ภัตตานิ, สะปะริวารานิ,  ปะฏิคัณหาตุ,
อัมหากัง,  ทีฆะรัตตัง,  หิตายะ,  สุขายะ,  นิพพานายะ  จะฯ
 
คำแปล
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ,  ข้าพเจ้าทั้งหลาย,  ขอนอบน้อมถวาย,  ภัตตาหาร,  พร้อมด้วยของที่เป็นบริวารทั้งหลายเหล่านี้,  แด่พระภิกษุสงฆ์,  ขอพระภิกษุสงฆ์,  จงรับ,  ภัตตาหาร, พร้อมด้วยของที่เป็นบริวารทั้งหลายเหล่านี้,  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย,  เพื่อประโยชน์,  เพื่อความสุข,  เพื่อมรรคผลนิพพาน,  แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย,  ตลอดกาลนานเทอญ.
 
 

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทแผ่ส่วนบุญส่วนกุศล

บทแผ่ส่วนบุญส่วนกุศล
 
อิทัง  เม  มาตาปิตูนัง  โหตุ,  สุขิตา  โหนตุ  มาตาปิตะโร,
ขอส่วนบุญนี้  จงสำเร็จแก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า
ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้ามีความสุข,
 
อิทัง เม  ญาตีนัง โหตุ, สุขิตา โหนตุ  ญาตะโย,
ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า
ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข,
 
อิทัง เม  คะรูปัชฌายาจะริยานัง โหตุ, สุขิตา โหนตุ  คะรูปัชฌายาจะริยา,
ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่ครู  อุปัชฌาย์และอาจารย์ของข้าพเจ้า
ขอให้ครู อุปัชฌาย์และอาจารย์ของข้าพเจ้ามีความสุข,

อิทัง  สัพพะเทวะตานัง  โหตุ,  สุขิตา  โหนตุ  สัพเพ  เทวา,
ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลาย
ขอให้เทวดาทั้งหลายมีความสุข,
 
อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ, สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา,
ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลาย
ขอให้เปรตทั้งหลายมีความสุข,
 
อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ, สุขิตา โหนตุ สัพเพ เวรี,
ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย
ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายมีความสุข,
 
อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ, สุขิตา โหนตุ สัพเพ  สัตตา,
ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลาย
ขอให้สัตว์ทั้งหลายมีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ.

บทพุทธชัยมงคลคาถา หรือพาหุง และบทชัยปริตร หรือมหากา

บทพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุง)
 
 
๑.พาหุง  สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง  ครีเมขะลัง  อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา  ชิตะวา  มุนินโท  ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เม  ชะยะมังคะลานิ.
 
คำแปล  ด้วยเดชานุภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ผู้เป็นจอมมุนี  ได้ทรงชนะพญามาร
ซึ่งได้เนรมิตแขนตั้งพัน  ถืออาวุธครบมือ  ขี่ช้างพลายคิรีเมขล์พร้อมด้วยเสนามาร
โห่ร้องกึกก้อง  ด้วยธรรมวิธี  มีทานบารมี  เป็นต้น  ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมี แก่ข้าพเจ้า.
 
๒.มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง  โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา  ชิตะวา  มุนินโท   ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ.
 
คำแปล  ด้วยเดชานุภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ผู้เป็นจอมมุนี  ได้ทรงชนะอาฬวก
ยักษ์ดุร้าย  ผู้มีจิตกระด้างลำพองหยาบช้ายิ่งกว่าพญามาร  เข้ามารุกรานราวีตลอดรุ่งราตรี
ด้วยวิธีทรมานเป็นอันดี  คือขันติธรรม  ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมี แก่ข้าพเจ้า.
 
๓.นาฬาคิริง  คะชะวะรัง  อะติมัตตะภูตัง  ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ  สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา  ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ.
 
คำแปล  ด้วยเดชานุภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นจอมมุนี ได้ทรงชนะพญาช้าง
นาฬาคิรี  ซึ่งกำลังเมามัน  ร้ายแรงเหมือนไฟป่าที่ลุกลาม  ร้องโกญจนาทเหมือนฟ้าฟาด
ด้วยวิธีรดลงด้วยน้ำ  คือ  พระเมตตานั้น  ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมี แก่ข้าพเจ้า.
 
๔.อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะ  สุทารุณันตัง  ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน  ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ.
 
คำแปล  ด้วยเดชานุภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นจอมมุนี ได้ทรงชนะองคุลิมาล
โจรทารุณร้ายกาจนัก  ทั้งฝีมือเยี่ยม  ควงดาบไล่ตามพระองค์ไปตลอดทาง ๓โยชน์
ด้วยอิทธิปาฏิหารย์นั้น  ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมี แก่ข้าพเจ้า.
 
๕.กัตวานะ  กัฏฐะมุทะรัง  อิวะ  คัพภินียา  จิญจายะ  ทุฏฐะวะจะนัง  ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ  โสมะวิธินา  ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ.
 
คำแปล ด้วยเดชานุภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นจอมมุนี  ได้ทรงชนะนางจิญจมาณวิกา
ที่ทำมารยาเสแสร้ง  กล่าวโทษพระองค์  โดยผูกท่อนไม้กลมแนบเข้ากับท้อง  ทำเป็นท้องแก่
ด้วยสมาธิวิธี  ในท่ามกลางที่ประชุมชนนั้น  ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมี แก่ข้าพเจ้า.
 
๖.สัจจัง  วิหายะ  มะติสัจจะกะวาทะเกตุง  วาทาภิโรปิตะมะนัง  อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต  ชิตะวา  มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ.
 
คำแปล ด้วยเดชานุภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นจอมมุนี  ผู้รุ่งเรืองด้วยประทีป  คือ
พระปัญญา  ได้พบทางชนะสัจจกนิครนถ์  ผู้มีนิสัยตลบแตลงมีสันดานโอ้อวด  มืดมน
ด้วยพระปัญญาดุจประทีปอันโชติช่วงนั้น  ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมี แก่ข้าพเจ้า.
 
๗.นันโทปะนันทะภุชะคัง  วิพุธัง  มะหิทธิง  ปุตเตนะ  เถระภุชะเคนะ  ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา  ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ.
 
คำแปล ด้วยเดชานุภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นจอมมุนี  โปรดให้พระโมคคัลลานะเถระ
พุทธชิโนรส  เนรมิตกายเป็นนาคราช  ไปทรมานนันโทปนันทนาคราช  ผู้มีฤทธิ์มาก 
แต่มีความรู้ผิดด้วยวิธีแสดงอุปเท่ห์แห่งฤทธิ์นั้น  ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมี แก่ข้าพเจ้า.
 
๘.ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ  สุทัฏฐะหัตถัง  พรัหมัง  วิสุทธิชุติมิตธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ  วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ.
 
คำแปล ด้วยเดชานุภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นจอมมุนี  ได้ทรงชนะท้าวพกพรหม
ผู้มีฤทธิ์  มีความสำคัญตนผิดว่าเป็นผู้มีฤทธิ์  รุ่งเรืองด้วยวิสุทธิคุณ  ถือมั่นด้วยมิจฉาทิฐิ
เหมือนดังถูกงูร้ายกำลังตรึงไว้แน่นแฟ้นด้วยวิธีประทานยาพิเศษ  คือ  เทศนานั้น
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมี แก่ข้าพเจ้า.
 
เอตาปิ  พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย  วาจะโน  ทินะทิเน  สะระเต  มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ  จุปัทวานิ  โมกขัง  สุขัง  อะธิคะเมยยะ  นะโร  สะปัญโญ.
 
คำแปล  นรชนใดไม่เกียจคร้าน  สวดก็ดี  ระลึกก็ดี  ซึ่งพระพุทธชัยมงคล ๘คาถา  แม้เหล่านี้
ทุกๆวัน  นรชนนั้นพึงละเลยได้ซึ่งอุปัทวอันตรายมีประการต่างๆ  เป็นเอนก  ถึงซึ่งวิโมกข์สิวาลัย
อันเป็นบรมสุขแล.

บทชัยปริตร (มหากา)
 
มหาการุณิโก  นาโถ,                                                   พระพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์
                                                                                       ประกอบแล้วด้วยพระมหากรุณา,

หิตายะ  สัพพะปาณินัง  ปูเรตะวา  ปาระมี  สัพพา,   ยังมีบารมีทั้งหลายทั้งปวงให้เต็ม
                                                                                       เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย,

ปัตโต  สัมโพธิมุตตะมัง,                                              ถึงแล้วซึ่งความตรัสรู้โดยอุดม,
 
เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ,                                                ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้,
 
โหนตุ  เม  ชะยะมังคะลัง,                                            ขอชัยมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า,
 
ชะยันโต  โพธิยา  มูเล                                                 สักกะยานัง  นันทิวัฒะโน
เอวัง  อะหัง  วิชะโย  โหมิ                                            ชะยามิ  ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก                                                   สีเส  ปะฐะวิโปกขะเร
อะภิเสเก  สัพพะพุทธานัง                                           อัคคัปปัตโต  ปะโมทะติ.
 
คำแปล  ขอข้าพเจ้า  จงมีชัยชนะในมงคลพิธี  เหมือนจอมมุนีทรงชนะมารที่โคนโพธิพฤกษ์
ถึงความเป็นผู้เลิศในสรรพพุทธาภิเษก  ทรงปราโมทย์อยู่บนอปราชิตบัลลังก์อันสูง 
เป็นจอมมหาปฐพี  ทรงเพิ่มพูนความยินดีแก่เหล่าพระประยูรญาติศากวงศ์  ฉะนั้น.
 
(หมายเหตุ)  สวดให้ผู้อื่นเปลี่ยนเป็น  "เอวัง  ตะวัง  วิชะโย  โหหิ  ชะยัสสุ"
 
สุนักขัตตัง  สุมังคะลัง,                เวลาที่สัตว์ประพฤติชอบ  ชื่อว่าฤกษ์ดี  มงคลดี,
สุปะภาตัง  สุหุฏฐิตัง,                   สว่างดี  รุ่งดี,
สุขะโณ  สุมุหุโต  จะ,                   และขณะดี  ครู่ดี,
สุยิฏฐัง  พรัหมะจาริสุ,                บูชาดีแล้วในพรหมจารีบุคคลทั้งหลาย,
ปะทักขิณัง  กายะกัมมัง,            กายกรรม  เป็นประทักษิณส่วนเบื้องขวา,
วาจากัมมัง  ปะทักขิณัง,            วจีกรรม  เป็นประทักษิณส่วนเบื้องขวา,
ปะทักขิณัง  มะโนกัมมัง,            มโนกรรม  เป็นประทักษิณส่วนเบื้องขวา,
ปะณิธี  เม  ปะทักขิณา,              ความปรารถนาของข้าพเจ้า  เป็นประทักษิณส่วนเบื้องขวา,
ปะทักขิณานิ  กัตวานะ,              สัตว์ทั้งหลายทำกรรม  อันเป็นประทักษิณส่วนเบื้องขวาแล้ว,
ละภัณตัตเถ  ปะทักขิเณ.           ย่อมได้ประโยชน์ทั้งหลาย  อันเป็นประทักษิณส่วนเบื้องขวา.
 
 
บทสัพพมงคลคาถา
 
ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง,          ขอสรรพมงคล  จงมีแก่ข้าพเจ้า,
รักขันตุ  สัพพะเทวะตา,         ขอเหล่าเทวดา  จงรักษาข้าพเจ้า,
สัพพะพุทธานุภาเวนะ,           ด้วยอาณุภาพแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง,
สะทา  โสตถี  ภะวันตุ  เม.      ขอความสวัสดีทั้งหลาย  จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ.
 
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง,           ขอสรรพมงคล จงมีแก่ข้าพเจ้า,
รักขันตุ สัพพะเทวะตา,           ขอเหล่าเทวดา จงรักษาข้าพเจ้า,
สัพพะธัมมานุภาเวนะ,            ด้วยอาณุภาพแห่งพระธรรมเจ้าทั้งปวง,
สะทา โสตถี ภะวันตุ เม.          ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ.
 
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง,            ขอสรรพมงคล จงมีแก่ข้าพเจ้า,
รักขันตุ สัพพะเทวะตา,           ขอเหล่าเทวดา จงรักษาข้าพเจ้า,
สัพพะสังฆานุภาเวนะ,             ด้วยอาณุภาพแห่งพระสงฆ์ทั้งปวง,
สะทา โสตถี ภะวันตุ เม.          ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ.
 
***  ตั้งใจมากเลยค่ะ  สำหรับบทนี้...ฝากผู้อ่านไว้สวดกันก่อนนอนนะคะ  *** 
เป็นมงคลสำหรับผู้อ่านและครอบครัวค่ะ^^


 


วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อานิสงส์ของการเจริญเมตตา

อานิสงส์ของการเจริญเมตตา

  1. หลับเป็นสุข
  2. ตื่นเป็นสุข
  3. ไม่ฝันร้าย
  4. เป็นที่รักแห่งมนุษย์ทั้งหลาย
  5. เป็นที่รักแห่งอมนุษย์ทั้งหลาย
  6. เทวดาทั้งหลายย่อมรักษา
  7. ไฟ ยาพิษ หรือศาสตรา ย่อมไม่กล้ำกราย
  8. จิตตั้งมั่นได้รวดเร็ว
  9. สีหน้าย่อมผ่องใส
  10. ไม่หลง เวลาใกล้ตาย
  11. เมื่อไม่บรรลุธรรมย่อมเข้าถึงพรหมโลก

การสวดมนต์ สวดอย่างไรให้ได้สัมฤทธิผลดังที่มุ่งหวัง

สวดมนต์อย่างไร  ให้สัมฤทธิผลดังมุ่งหวัง?

การสวดมนต์  จะสัมฤทธิผลดังมุ่งหวังนั้น...
จะต้องทำด้วยความตั้งใจ  จริงใจและจริงจัง  มิใช่เพียงแต่ทำเป็นกิริยา
หรือทำด้วยความจำใจ  นอกจากนั้น  การสวดมนต์ถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติ
ตามหลักของ "ไตรสิกขา"

ไตรสิกขา  คือ  ศีล  สมาธิ  ปัญญา

ศีล  เกิดจาก  ผู้สวดสำรวมทางกาย  วาจากล่าวแต่คำสวดที่เป็นวาจาสุภาษิตนั้น "เรียกว่า ศีล"
สมาธิ  เกิดจาก  ขณะกล่าวสวดมนต์  ใจของผู้สวดจดจ่อกับบทสวดจิตจึงตั้งมั่น "เรียกว่า สมาธิ"
ปัญญา  เกิดจาก  ความเพียรของผู้สวดที่นึกถึงแต่สิ่งดีงาม กุศลความดีเป็นสิ่งที่ดีควรกระทำ
อกุศลกรรมเป็นสิ่งที่ควรละเว้น "เรียกว่า ปัญญา"

ดังนั้น  การสวดมนต์ต้องทำด้วยความตั้งใจ  จริงจัง  และเรียนรู้ความหมายตามคำที่สวด
แล้วนำความรู้ที่ได้จากบทสวดมนต์นั้นๆ  ไปปฏิบัติให้เกิดผลแล้ว  ย่อมจะสามารถเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมทางจิตใจให้เป็นผู้มีความสะอาด "คือมีศีล"  สงบ "คือมีสมาธิ"  สว่าง "คือเกิดปัญญา"

บทกรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร และอานิสงส์

บทกรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร

ข้าพเจ้า  ขออุทิศบุญกุศลจากการสวดมนต์เจริญภาวนาในครั้งนี้...
ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย  ที่ได้เคยล่วงเกินท่านไว้ตั้งแต่อดีตชาติ
จนถึงปัจจุบัน  ไม่ว่าจะอยู่ภพใดหรือภูมิใด  ขอให้ท่านได้รับผลบุญนี้
ท่านที่มีทุกข์...ขอให้ได้พ้นจากทุกข์
ท่านที่มีสุข...ขอให้สุขยิ่งๆขึ้นไป 

เมื่อเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย  ได้รับบุญที่ข้าพเจ้าอุทิศให้นี้...
ได้โปรดอนุโมทนาบุญแก่ข้าพเจ้า  ให้ถึงซึ่งความเป็นผู้พ้นทุกข์
ด้วยอำนาจบุญกุศลที่ข้าพเจ้าอุทิศให้แล้วนี้ด้วยเทอญ.

อานิสงส์ของการกรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร

นอกจากจะทำให้หมดเวรหมดภัยต่อกันแล้ว...
ท่านจะกลับร้ายกลายเป็นดี  ลูกหลานเจริญรุ่งเรือง  มั่งมีศรีสุข
จะประกอบกิจการใดก็ประสบความสำเร็จ  เงินทองไหลมาเทมา
ไร้ซึ่งอุปสรรค...
" เพราะเป็นผลจากการที่ไม่มีเจ้ากรรมนายเวรมาขัดขวางนั่นเอง "


บทแผ่เตตา

ตอน บทแผ่เมตตา
    
การแผ่เมตตา นี้มีความหมายมาก เพราะเป็นการแผ่เมตตาจิตของตนเองไปยังสรรพสัตว์
และเพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย และด้วยการแผ่เมตตานี้ต้องทำด้วยจิตอันบริสุทธิ์ผ่องใส
จึงจะได้ผลดี นั่นก็คือ "ผู้คนทั้งหลายและสรรพสัตว์ ก็จะมีเมตตาต่อเรา" กลับคืนมาเช่นกัน

บทแผ่เมตตาแก่ตนเอง

อะหัง สุขิโต โหมิ,                 ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข,

อะหัง นิททุกโข โหมิ,            ปราศจากความทุกข์,

อะเวโร โหมิ,                          ปราศจากเวร,

อัพพะยาปัญชา โหมิ,           ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง,

อะนีโฆ โหมิ,                           ปราศจากความทุกข์,

สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ.       มีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด.


บทแผ่เมตตาให้กับสรรพสัตว์

สัพเพ สัตตา,                           สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์  เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันหมดทั้งสิ้น,
                                              
อะเวรา โหนตุ,                         จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด  อย่าได้ มีเวรต่อกันและกันเลย,
                                              
อัพพะยาปัญชา โหนตุ,          จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด  อย่าได้ เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย,
                                              
อะนีฆา โหนตุ,                         จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด  อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย,

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.       จงมีความสุขกายสุขใจ  รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัย ทั้งสิ้นเถิด.

บทสวดอัญเชิญเทวดา (กลับ)

เทวะตาอุยโยชะนะคาถา

บทสวดอัญเชิญเทวดา (กลับ)

ทุกขัปปัตตา  จะ  นิททุกขา          ภะยัปปัตตา  จะ  นิพภายะ
โสกัปปัตตา  จะ  นิสโสกา             โหนตุ  สัพเพปิ  ปาณิโน
เอตตาวะตา  จะ  อัมเหหิ               สัมภะตัง  ปุญญะสัมปะทัง
สัพเพ  เทวานุโมทันตุ                   สัพพะสัมปัตติสิทธายะ
ทานัง  ทะทันตุ  สัทธายะ              สีลัง  รักขันตุ  สัพพะทา
ภาวะนาภิระตา  โหนตุ                  คัจฉันตุ  เทวะตาคะตา.

สัพเพ  พุทธา  พะลัปปัตตา          ปัจเจกานัญจะ  ยัง  พะลัง
อะระหันตานัญจะ  เตเชนะ           รักขัง  พันธามิ  สัพพะโส.

ยังมีบทสวดอีกหลายบทให้ติดตามนะคะ โปรดติดตามกันต่อไปนะคะ

บทสวดมนต์ประจำวันเกิด (วันพุธ-กลางคืน)

พุทธมงคลคาถาผู้เกิดวันพุธ (กลางคืน)

บทสวดมนต์ประจำวันเกิด (วันพุธ-กลางคืน)

กินนุ  สันตะระมาโนวะ  ราหู  สุริยัง  ปะมุญจะสิ  สังวิคคะรูโป  อาคัมมะ
กินนุ  ภีโต  วะ  ติฏฐะสีติ  สัตตะธา  เม  ผะเล  มุทธา  ชีวันโต  นะ  สุขัง
ละเภ  พุทธะคาถาภิคีโตมหิ  โน  เจ  มุญเจยยะ  สุริยันติ.

กินนุ สันตะระมาโนวะ ราหู  จันทัง  ปะมุญจะสิ สังวิคคะรูโป อาคัมมะ
กินนุ ภีโต วะ ติฏฐะสีติ สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง
ละเภ พุทธะคาถาภิคีโตมหิ โน เจ มุญเจยยะ  จันทิมันติ.

( สวด ๑๒ จบ )  แล้วต่อด้วยคาถา "บูชาเทวดาพระราหู" ดังนี้

อิติปิ โส ภะคะวา พระราหูจะมัสมิง จะ พุทธะคุณัง
จะ ธัมมะคุณัง จะ สังฆะคุณัง สัพพะทุกขัง สัพพะภะยัง
สัพพะโรคัง วิวัชชะเย สัพพะลาภัง ภะวันตุเม.

( ติดตามบทสวดมนต์ที่น่าสนใจกันต่อในตอนหน้าค่ะ )


บทสวดมนต์ประจำวันเกิด (วันเสาร์)

พุทธมงคลคาถาผู้เกิดวันเสาร์

บทสวดมนต์ประจำวันเกิด (วันเสาร์)

ยะโตหัง  ภะคินิ  อะริยายะ  ชาติยา  ชาโต  นาภิชานามิ  สัญจิจจะ  ปาณัง
ชีวิตา  โวโรเปตา.  เตนะ  สัจเจนะ  โสตถิ  เต  โหตุ  โสตถิ  คัพภัสสะ.

( สวด ๑๐ จบ ) แล้วต่อด้วย "คาถาบูชาเทวดาพระเสาร์" ดังนี้

อิติปิ โส ภะคะวา พระเสาร์จะมัสมิง จะ พุทธะคุณัง
จะ ธัมมะคุณัง จะ สังฆะคุณัง สัพพะทุกขัง สัพพะภะยัง
สัพพะโรคัง วิวัชชะเย สัพพะลาภัง ภะวันตุเม.

( ติดตามบทประจำวันพุธ-กลางคืน  ในตอนหน้ากันต่อนะคะ )

บทสวดมนต์ประจำวันเกิด (วันศุกร์)

พุทธมงคลคาถาผู้เกิดวันศุกร์

บทสวดมนต์ประจำวันเกิด (วันศุกร์)

ยัสสานุสสะระเณนาปิ  อันตะลิกเขปิ  ปาณิโน  ปะติฏฐะมะธิคัจฉันติ
ภูมิยัง  วิยะ  สัพพะทา  สัพพูปัททะวะชาลัมหา  ยักขะโจราทิสัมภะวา
คะณะนา  นะ  จะ  มุตตานัง  ปะริตตันตัมภะณามะ  เห.

( สวด ๒๑ จบ )  แล้วต่อด้วย "คาถาบูชาเทวดาพระศุกร์"

อิติปิ โส ภะคะวา พระศุกร์จะมัสมิง จะ พุทธะคุณัง
จะ ธัมมะคุณัง จะ สังฆะคุณัง สัพพะทุกขัง สัพพะภะยัง
สัพพะโรคัง วิวัชชะเย สัพพะลาภัง ภะวันตุเม.

( ติดตามบทประจำวันเสาร์ในตอนหน้ากันต่อนะคะ )

บทสวดมนต์ประจำวันเกิด (วันพฤหัสบดี)

พุทธมงคลคาถาผู้เกิดวันพฤหัสบดี

บทสวดมนต์ประจำวันเกิด (วันพฤหัสบดี)

ปูเรนตัมโพธิสัมภาเร  นิพพัตตัง  วัฏฏะชาติยัง  ยัสสะ  เตเชนะ  ทาวัคคิ
มะหาสัตตัง  วิวัชชะยิ  เถรัสสะ  สารีปุตตัสสะ  โลกะนาเถนะ  ภาสิตัง
กัปปัฏฐายิ  มะหาเตชัง  ปะริตตันตัมภะณามะ  เห.

( สวด ๑๙ จบ )  แล้วต่อด้วย "คาถาบูชาเทวดาพระพฤหัสบดี"

อิติปิ โส ภะคะวา พระพฤหัสปติจะมัสมิง จะ พุทธะคุณัง
จะ ธัมมะคุณัง จะ สังฆะคุณัง สัพพะทุกขัง สัพพะภะยัง
สัพพะโรคัง วิวัชชะเย สัพพะลาภัง ภะวันตุเม.

( ติดตามบทประจำวันศุกร์ในตอนหน้านะคะ ^^ )

บทสวดมนต์ประจำวันเกิด (วันพุธ-กลางวัน)

พุทธมงคลคาถาผู้เกิดวันพุธ (กลางวัน)

บทสวดมนต์ประจำวันเกิด (วันพุธ-กลางวัน)

สัพพาสีวิสะชาตีนัง  ทิพพะมันตาคะทัง  วิยะ  ยันนาเสติ  วิสัง  โฆรัง  เสสัญจาปิ
ปะริสสะยัง  อาณักเขตตัมหิ  สัพพัตถะ  สัพพะทา  สัพพะปาณินัง  สัพพะโสปิ 
นิวาเรติ  ปะริตตันตัมภะณามะ  เห.

( สวด ๑๗ จบ)  แล้วต่อด้วย "คาถาบูชาเทวดาพระพุธ" ดังนี้

อิติปิ โส ภะคะวา พระพุธจะมัสมิง จะ พุทธะคุณัง
จะ ธัมมะคุณัง จะ สังฆะคุณัง สัพพะทุกขัง สัพพะภะยัง
สัพพะโรคัง วิวัชชะเย สัพพะลาภัง ภะวันตุเม.

( ติดตามบทประจำวันพฤหัสบดีในตอนหน้านะคะ )

บทสวดมนต์ประจำวันเกิด (วันอังคาร)

พุทธมงคลคาถาผู้เกิดวันอังคาร

บทสวดมนต์ประจำวันเกิด (วันอังคาร)

ยัสสานุภาวะโต  ยักขา  เนวะ  ทัสเสนติ  ภิงสะนัง  ยัมหิ  เจวานุยุญชันโต
รัตตินทิวะมะตันทิโต  สุขัง  สุปะติ  สุตโต  จะ  ปาปัง  กิญจิ  นะ  ปัสสะติ
เอวะมาทิคุณูเปตัง  ปะริตตันตัมภะณามะ  เห.

( สวด ๘ จบ )  แล้วต่อด้วย "คาถาบูชาเทวดาพระอังคาร" ดังนี้

อิติปิ โส ภะคะวา พระอังคารจะมัสมิง จะ พุทธะคุณัง
จะ ธัมมะคุณัง จะ สังฆะคุณัง สัพพะทุกขัง สัพพะภะยัง
สัพพะโรคัง วิวัชชะเย สัพพะลาภัง ภะวันตุเม.

( ติดตามบทประจำวันพุธตอนต่อไปค่ะ!!! )

บทสวดมนต์ประจำวันเกิด (วันจันทร์)

พุทธมงคลคาถาผู้เกิดวันจันทร์

บทสวดมนต์ประจำวันเกิด (วันจันทร์)

ยันทุนนิมิตตัง  อะวะมังคะลัญจะ  โย  จามะนาโป  สะกุณัสสะ  สัทโท
ปาปัคคะโห  ทุสสุปินัง  อะกันตัง  พุทธานุภาเวนะ  วินาสะเมนตุ.
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง  ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ.

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง  สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ.

( สวด ๑๕ จบ )  แล้วต่อด้วย "คาถาบูชาเทวดาพระจันทร์"

อิติปิ โส ภะคะวา พระจันทร์จะมัสมิง จะ พุทธะคุณัง
จะ ธัมมะคุณัง จะ สังฆะคุณัง สัพพะทุกขัง สัพพะภะยัง
สัพพะโรคัง วิวัชชะเย สัพพะลาภัง ภะวันตุเม.

( ติดตามบทประจำวันอังคารตอนต่อไปค่ะ!!! )

บทสวดมนต์ประจำวันเกิด (วันอาทิตย์)

พุทธมงคลคาถาผู้เกิดวันอาทิตย์

บทสวดมนต์ประจำวันเกิด (วันอาทิตย์)

อุเทตะยัญจักขุมา  เอกะราชา  หะริสสะวัณโณ  ปะฐะวิปปะภาโส
ตัง  ตัง  นะมัสสามิ  หะริสสะวัณณัง  ปะฐะวิปปะภาสัง  ตะยัชชะ
คุตตา  วิหะเรมุ  ทิวะสัง  เย  พราหมะณา  เวทะคุ  สัพพะธัมเม  เต
เม  นะโม  เต  จะ  มัง  ปาละยันตุ  นะมัตถุ  พุทธานัง  นะมัตถุ 
โพธิยา  นะโม  วิมุตตานัง  นะโม  วิมุตติยา  อิมัง  โส  ปะริตตัง
กัตวา  โมโร  จะระติ  เอสะนา.

( สวด ๖ จบ )  แล้วต่อด้วย "คาถาบูชาเทวดาพระอาทิตย์" ดังนี้

อิติปิ  โส  ภะคะวา  พระอาทิตย์จะมัสมิง  จะ  พุทธะคุณัง
จะ  ธัมมะคุณัง  จะ  สังฆะคุณัง  สัพพะทุกขัง  สัพพะภะยัง
สัพพะโรคัง  วิวัชชะเย  สัพพะลาภัง  ภะวันตุเม.

( ติดตามบทประจำวันจันทร์ตอนต่อไปค่ะ )

บทสรรเสริญพระสังฆคุณ

บทสรรเสริญพระสังฆคุณ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,            สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด
                                                                            ปฏิบัติดีแล้ว,
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,         สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด
                                                                            ปฏิบัติตรงแล้ว,
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,    สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด
                                                                            ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว,
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,     สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด
                                                                            ปฏิบัติสมควรแล้ว, 
ยะทิทัง,                                                              ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ,
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสาปุคคะลา,      คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ,
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,                       นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้ทีพระภาคเจ้า,
อาหุเนยโย,                                                        เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา,
ปาหุเนยโย,                                                       เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ,
ทักขิเนยโย,                                                       เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน,
อัญชะลิกะระณีโย,                                           เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี,
อะนุตตะรัง ปุญญีกเขตตัง โลกัสสาติ.            เป็นเนื้อนาบุญ ของโลก ไม่มีเนื้อนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

พระสังฆคุณ
สังฆคุณ  คุณของพระสงฆ์  แบ่งเป็น 2 ส่วน
1.ส่วนคุณความดีของตัวท่าน
2.ส่วนที่เป็นคุณความดีแก่ผู้อื่น

พระสังฆคุณ  นำบุญทางปัญญามาให้คือ  ทำให้เรารู้จักปรับตัวอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข

(แล้วติดตามบทต่อไปตอนหน้านะคะ)

บทสรรเสริญพระธรรมคุณ

บทสรรเสริญพระธรรมคุณ

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,          พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว,
สันทิฏฐิโก,                                         เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง,
อะกาลิโก,                                          เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล,
เอหิปัสสิโก,                                        เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด,
โอปะนะยิโก,                                      เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว,
ปัจจัจตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ.         เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน.

พระธรรมคุณ
พระธรรมคุณ  นำบุญทางปัญญามาให้  คือ  ทำให้ได้รู้ว่า"ธรรมใดๆก็ไร้ค่า ถ้าไม่ลงมือทำ"

(บทต่อไปเป็นบทสรรเสริญพระสังฆคุณค่ะ)

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทสรรเสริญพระพุทธคุณ

บทสรรเสริญพระพุทธคุณ

อิติปิ โส ภะคะวา,                               พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น,
อะระหัง,                                              เป็นผู้ไกลจากกิเลส,
สัมมาสัมพุทโธ,                                 เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,
วิชชาจะระณะสัมปันโน,                   เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ,
สุคะโต,                                               เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี,
โลกะวิทู,                                             เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง,
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ,        เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า,
สัตถา เทวามะนุสสานัง,                    เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย,
พุทโธ,                                                เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกเบิน,
ภะคะวาติ.                                          เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์.

พระพุทธคุณ
พระพุทธคุณ  นำบุญทางปัญญามาให้  คือ  ทำให้เกิดความเพียรสร้างความดีตามอย่างพระพุทธองค์

(ตอนต่อไป บทสรรเสริญพระธรรมคุณค่ะ)

หากมีบทใดที่ต้องการหรือแนะนำสามารถแนะนำได้เลยนะคะ
และหากต้องการบทใดเพิ่ม สามารถแนะนำได้เช่นกันค่ะ ถ้าไม่เกินความสามารถจะพยายามหามาโพสต์ลงไว้ให้ได้อ่านกันนะคะ

พระคาถาชินบัญชร (เปิดฟังได้เลยค่ะ) พร้อมคำแปลและอานิสงส์


โดย...สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี

ก่อนที่จะสวดพระคาถาชินบัญชร

ตั้ง นะโม ๓ จบ และระลึกถึงคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) แล้วสวดดังต่อไปนี้

ปุตตะกาโม ละเภ ปุตตัง ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง
อัตถิ กาเย กายะญายะ เทวานัง ปิยะตัง สุตะวา.

อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวชสุวรรณโณ
มะระณัง สุขัง อะระหัง สุคะโต นะโม พุทธายะ.

แล้วตามด้วยพระคาถาชินบัญชร จะเกิดผลสมตามความปรารถนายิ่งแล...


คำแปลและอานิสงส์ของพระคาถาชินบัญชร

พระคาถาชินบัญชรแบ่งเป็นวรรคตอนทั้งหมด ๑๕ บทวรรคด้วยกัน
แปลความหมายและอานิสงส์ได้ ดังนี้

๑.พระพุทธเจ้าผู้องอาจในหมู่ชน ประทับ ณ ชัยอาสน์บัลลังก์
ทรงชนะพญามาร ผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนามารแล้วเสวยอมตรส
คือ อริยสัจ ๔ ประการ อันทำให้ผู้รู้แจ้ง ข้ามพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
เป็นผู้องอาจได้

๒.ขออัญเชิญพระพุทธเจ้า ผู้ทรงนำสัตว์โลกให้ข้ามพ้นกิเลส
และกองทุกข์ ทั้ง ๒๘ พระองค์ มีพระนามว่า พระตัณหังกรพระพุทธเจ้า
เป็นต้น มาประดิษฐานเหนือกลางกระหม่อมของข้าพเจ้า

๓.ขออัญเชิญ พระพุทธคุณ มาประดิษฐานบนศีรษะ
พระธรรม มาสถิตที่ดวงตา พระสงฆ์ ผู้เป็นบ่อเกิดแห่งความดี
มาสถิตที่หน้าอก

๔.ขออัญเชิญพระอนุรุทธะอยู่ที่หัวใจ พระสารีบุตรอยู่กายเบื้องขวา
พระโมคคัลลานะอยู่กายเบื้องซ้าย พระโกณฑัญญะอยู่กายเบื้องหลัง

๕.ขอพระอานนท์กับพระราหุล สถิตอยู่ที่หูขวา พระมหากัสสปะกับ
พระมหานามะ สถิตที่หูซ้าย

๖.ขอพระโสภิตะ ผู้เป็นมุนีที่แกล้วกล้า ถึงพร้อมด้วยสิริอันเรืองรอง
ดังพระอาทิตย์ทอแสง มาสถิตที่เส้นผมข้าพเจ้าทั้งข้างหน้าข้างหลัง

๗.ขอพระกุมารกัสสปเถระ ผู้แสวงบุญอันยิ่งใหญ่ผู้เป็นบ่อเกิด
แห่งคุณงามความดี มีวาทะไพเราะชวนฟัง มาสถิตที่ปาก
ของข้าพเจ้าเป็นเนืองนิตย์

๘.ขอพระเถระ ทั้ง ๕ รูป คือพระปุณณะ พระองคุลิมาล พระอุบาลี
พระสีวลี พระนันทะ จงปรากฎเป็นกระแจจุณ เจิมที่หน้าผากของข้าพเจ้า

๙.ขอพระมหาเถระทั้ง ๘๐ องค์ นอกเหนือจากเอ่ยนามมาแล้ว ผู้ชนะแล้ว
ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย พระมหาเถระเหล่านั้นนับเป็นผู้ชนะแล้ว
เป็นโอรสของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย จึงเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยเดชแห่งศีล
ขอจงมาสถิตที่อวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหลาย

๑๐.ขอพระรัตนสูตร อยู่เบื้องหน้า พระเมตตาสูตร อยู่เบื้องขวา
พระองคุลิมาลสูตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคสูตรอยู่เบื้องหลัง

๑๑.ขอพระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฎานาฏิยสูตร
มากางกั้นคุ้มครองถัยจากอากาศดุจหลังคา ขอพระสูตรที่เหลือ
มาเป็นกำแพงแก้วล้อมรอบ

๑๒.ขอพระอาณา คือ พระอำนาจของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย
อันประกอบด้วย พระคุณอันประเสริฐมาเป็นกำแพงแก้ว ๗ ชั้น
มาป้องกันข้าพเจ้าจากอันตรายภายนอก มีโรคที่เกิดจากลม
เป็นต้น และอันตรายภายใน มีโรคที่เกิดจากดีกำเริบ เป็นต้น

๑๓.ด้วยเดชานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย มีพระคุณต่อสรรพสัตว์
อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ขออันตรายจงพินาศ เมื่อข้าพเจ้าอยู่ในบัญชร
ของพระพุทธเจ้าแล้ว ไม่ว่าทำกิจใดๆ ขอให้สำเร็จทุกเมื่อเถิด

๑๔.ขอพระมหาบุรุษผู้มีความองอาจทั้งปวง จงคุ้มครองข้าพเจ้า
ผู้อยู่ ณ ภาคพื้นในท่ามกลางแห่งชินบัญชรตลอดไป

๑๕.ข้าพเจ้าได้รับการคุ้มครองรักษาไว้ภายในชินบัญชร ดังพรรณา
มาฉะนี้ "ด้วยอาณุภาพแห่งพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย"
ขอให้ข้าพเจ้าชนะอุปสรรคอันตรายได้,
"ด้วยอาณุภาพแห่งพระธรรม" ขอให้ข้าพเจ้าชนะข้าศึกศัตรูได้,
"ด้วยอาณุภาพแห่งพระสงฆ์ " ขอให้ข้าพเจ้าชนะอันตรายทั้งปวงได้,
ข้าพเจ้าได้รับการอภิบาลรักษาแล้วจากพระสัทธรรม
จะดำเนินชีวิตไปในพระบัญชรของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย ดังนี้แล.

หัวใจของพระคาถาชินบัญชร

"ชินะปัญชะระปะริตตังมัง  รักขะตุ  สัพพะทา" 

สวด 3 จบ  "ขอพระชินบัญชรปริตร จงรักษาข้าพเจ้า  ตลอดกาลทุกเมื่อเทอญ"
ก่อนออกจากบ้านทุกวัน ช่วยให้แคล้วคลาด ปลอดภัยทุกเมื่อ

***แล้วติดตามสาระดีๆกันต่อในตอนหน้านะคะ***

บทสวดชุมนุมเทวดา

บทสวดมนต์ชุมนุมเทวดา

ผะริตตะวานะ เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา,

อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ,

สักเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน,
ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต,
ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา,
ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ,

ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา.
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา.
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา.

คำแปล ( แบบย่อ )

ข้าพเจ้า ขออัญเชิญเทวดาทั่วทั้งจักรวาล รวมทั้ง
ยักษา คนธรรพ์ ครุฆ นาคทั้งหลาย ขออัญเชิญ
มายังสถานที่นี้ เพื่อสดับรับฟังเสียงสวดมนต์ด้วยกันเทิญ

อานิสงส์ของการสวดมนต์บทนี้

เทวดาและเหล่าทั้งหลายที่ได้อัญเชิญมารับฟังเสียงสวดมนต์นั้น
เมื่อเราสวดมนต์ ก็จะเกิดพลังแห่งบุญจากการสวดมนต์นั้น
ท่านทั้งหลายก็จะมาร่วมอนุโมทนาสาธุบุญ
ที่เกิดจากการสวดมนต์บทต่างๆ เพราะฉะนั้นเมื่อท่านได้รับบุญแล้ว
ท่านก็จะให้พรกับผู้ที่สวดมนต์ และคุ้มครองให้ปลอดภัย
สิ่งที่ไม่ดีต่างๆ ก็จะไม่เกิดขึ้นกับผู้ที่หมั่นสวดมนต์ภาวนานั่นเองค่ะ!!!

***แล้วกลับมาติดตามบทสวดมนต์บทต่อไปกันนะคะ***

บทสวดมนต์ ตอน บทขอขมาพระรัตนตรัย และบทอธิษฐานขออโหสิกรรมต่อกัน

บทขอขมาพระรัตนตรัย

วันทามิ พุทธัง สัพพัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต.

ข้าพเจ้า ขออภิวาทพระพุทธเจ้า, ขอพระพุทธองค์โปรดทรง
ยกโทษทั้งปวงที่ข้าพเจ้าทำล่วงเกินด้วยเทอญ.

วันทามิ ธัมมัง สัพพัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต.
ข้าพเจ้า ขออภิวาทพระธรรม, ขอพระธรรมโปรดยกโทษ
ทั้งปวงที่ข้าพเจ้าทำล่วงเกินด้วยเทอญ.

วันทามิ พุทธัง สัพพัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต.
ข้าพเจ้า ขออภิวาทพระสงฆ์, ขอพระสงฆ์โปรดยกโทษ
ทั้งปวงที่ข้าพเจ้าทำล่วงเกินด้วยเทอญ.



การขอขมาเมื่อรู้ว่าตนทำผิด นำบุญทางปัญญามาให้
คือ "ได้หยุดอาฆาตพยาบาทจองเวรจองกรรมกันต่อไป"
เพราะถ้าทุกฝ่ายต่างรู้จักให้อภัย ก็จะทำให้อยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุข

จึงมี "บทสวดอธิษฐานอโหสิกรรมต่อกัน" เพื่อความสะอาดของจิต
ก่อนการปฏิบัติธรรมจึงควรอธิษฐานขออโหสิกรรมต่อกันก่อนด้วย
จะให้ผลดียิ่งขึ้น


บทอธิษฐานขออโหสิกรรมต่อกัน

กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง สัญจิจจะกัมมัง
อสัญจิจจะกัมมัง ขะมันตุ เม อโหสิกัมมัง ภะวันตุ เม.

กรรมใดๆ ที่ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินแก่ผู้ใด โดยตั้งใจก็ดี ไม่ได้ตั้งใจก็ดี
จงยกโทษให้เป็นอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้า

แม้กรรมใด ที่ใครทำแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมให้ทั้งสิ้น
ยกถวายเป็นอภัยทาน ให้เขาเหล่านั้นมีเมตตาจิต คิดเป็นมิตรกับข้าพเจ้า
จะไก้ไม่มีเวรกรรมต่อกันตลอดไป

ด้วยอานิสงส์แห่งอภัยทานนี้ ขอให้ข้าพเจ้าและครอบครัวของข้าพเจ้า
พ้นจากความทุกข์ยากลำบาก ปรารถนาสิ่งใดอันเป็นไปโดยธรรม
ขอให้สิ่งนั้น จงพลันสำเร็จด้วยเทอญ นิพพานะปัจจะโย โหนตุ.

รอติดตามบทต่อไปกันได้เรื่อยๆนะคะ...

คำสมาทานศีล๕ และ กรรมบท๑๐ UPDATEอานิสงส์และผลดี

คำสมาทานศีล ๕

๑. ปาณาติปาตา, เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,

งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตัวเอง หรือทรมาณสัตว์ และจ้างวานผู้อื่นกระทำ
๒. อะทินนาทานา, เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,
งดเว้นจากการลักทรัพย์ หรือถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้
๓. กาเมสุมิจฉาจารา, เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,
งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ( ผิดลูก ผิดสามี ผิดภรรยา หรือคู่ครองของผู้อื่น )
๔. มุสาวาทา, เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,
งดเว้นจากการพูดไม่จริง หรือกล่าวคำเท็จให้ผู้อื่นเดือดร้อน
๕. สุราเมระยะ มัชชะปะมา ทัฏฐานา, เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,
งดเว้นจากการดื่มสุราเมรัย ของมึนเมา และยาเสพติด อันเป็นที่ตั้งของความประมาท

และสุจริต ๑๐ ประการ
(มงคลอันประเสริฐของการประพฤติธรรม)

ประกอบด้วย กายสุจริต ๓ / วจีสุจริต ๔ / มโนสุจริต ๔ นี้รวมเรียกว่า
"กรรมบท ๑๐" คือ

กายสุจริต ๓
  1. ไม่ฆ่าสัตว์
  2. ไม่ลักทรัพย์
  3. ไม่ประพฤติผิดในกาม
วจีสุจริต ๔
  1. ไม่พูดปด
  2. ไม่พูดจาส่อเสียด
  3. ไม่พูดหยาบคาย
  4. ไม่พูดเพ้อเจ้อหาสาระไม่ได้
มโนสุจริต ๔
  1. ไม่คิดโลภ เพ่งเล็งของผู้อื่นมาเป็นของตน
  2. ไม่มีจิตอาฆาตพยาบาทจองเวรในสัตว์ทั้งปวง
  3. ไม่เห็นผิดตามทำนองคลองธรรม ที่ว่า"ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว"

ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ กับ "กรรมบถ ๑๐ ประการ"
ถ้าเรารักษาศีล ๕ ได้อย่างบริสุทธิ์ ด้วยการแสดงออกทางกาย
และวาจาได้แล้ว ก็เพิ่มการรักษาความบริสุทธิ์ทางใจเพิ่มขึ้นอีกหน่อย...

ก็จะทำให้ผู้ประพฤติธรรมทุกท่านมีความบริสุทธิ์มากยิ่งขึ้นด้วยนะคะ
และเมื่อทำเสมอเป็นนิจ "ย่อมปิดซึ่งอกุศลบาป" ทั้งปวงด้วยค่ะ

***แล้วกลับมาพบกันใหม่ในตอนหน้านะคะ***

UPDATE

อานิสงส์ของศีล๕  มีดังนี้
  1. ทำให้อายุยืน  ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน
  2. ทรัพย์สมบัติที่อยู่ในปกครอง  มีความปลอดภัยจากโจรร้ายมาเบียดเบียน
  3. ในครอบครัว  ระหว่างลูก  หลาน  สามี  ภรรยา  อยู่กันอย่างผาสุกไม่มีใครคอยล่วงล้ำ
  4. พูดอะไรก็น่าเชื่อถือ  มีแต่คนเคารพ  คำพูดมีเสน่ห์ไพเราะด้วยสัตย์  ด้วยศีล
  5. เป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด  ไม่ลืมหน้าลืมหลัง
ผลดีของผู้ที่มีศีล๕  จะได้รับประโยชน์หลายประการ  ดังต่อไปนี้
  1. เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
  2. เกิดความสบายอกสบายใจ
  3. เป็นเยี่ยงอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น
  4. ผู้ใดให้ของแก่เรา  ผู้นั้นย่อมได้บุญมาก  เพราะเราเป็นผู้มีศีล
  5. เป็นคนมีค่ามาก
  6. เป็นอยู่อย่างปลอดภัย ไม่ต้องหวาดระแวง
  7. มีโอกาสบรรลุธรรม
  8. โภคทรัพย์เพิ่มพูนคูณทวี
  9. อาจหาญในที่ประชุม
  10. มีชื่อเสียงเกรียงไกร  น่าเชื่อถือ
  11. ตายอย่างสงบ
  12. ตายไปแล้วสู่สุขคติภูมิ  มีมนุษย์และเทวดาเป็นภูมิกำเนิด