วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กฎแห่งกรรม (ตอนที่ 2)

กฎแห่งกรรม (ตอนที่ 2)
 
"กรรม"  คนส่วนมากมักมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี  มีแต่โทษไม่ให้คุณ  และก็ยังเป็นความเชื่อกันโดยมากถึงปัจจุบัน  เพราะมีอะไรไม่ดีเกิดขึ้นส่วนมากคนเราก็มักจะโทษ  "กรรม"
 
 
แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น  "กรรม"  เป็นคำที่มีความหมายกลางๆ  ซึ่งในทางพระพุทธศาสนาหมายถึง  "การกระทำ"
 
"กรรม"  จึงแบ่งเป็น ๒ ประเภทด้วยกัน  คือ  "กุศลกรรม"  หรือกรรมดี  คือการสร้างความดี
และ  "อกุศลกรรม"  หรือกรรมชั่ว  คือการทำในสิ่งที่ผิด  ไม่ดี  ไม่ปฏิบัติตนอยู่ในศีล๕
 
ซึ่งในทางพระพุทธศาสนานั้น  "กรรม"  ไม่ใช่สิ่งที่เกิดแล้วจะเห็นผลทันตา  หรือทันทีทันใดแล้วจะหมดสิ้นไป  แต่...จะติดตัวหรือจิต(ดวงวิญญาณ)  ของบุคคลผู้นั้นไปตลอด  ทั้งชาติภพนี้และต่อๆไปจนกว่าจะหลุดพ้นการเวียนว่ายตายเกิดนั่นเอง
 
พระพุทธองค์ตรัสถึงกฎแห่งกรรมไว้ว่า...
 
หากใครกล่าวร้ายเรื่องกฎแห่งกรรม...
ชาติหน้าก็จะไม่ได้เกิดเป็นคนอีก  (เกิดในอบายภูมิ)
 
หากเชื่อถือยึดมั่นในกฎแห่งกรรม...
ความเจริญมั่งมีศรีสุข  ก็จะมาเยือนถึงบ้าน
 
หากใครคอยแนะนำเผยแพร่เรื่องกฎแห่งกรรม...
ก็จะเจริญยิ่งๆขึ้นไปชั่วลูกชั่วหลาน
 
หากใครยึดมั่นในกฎแห่งกรรม...
เคราะห์ภัยพิบัติจะอยู่ห่างไกลตัว
 
หากใครเที่ยวบรรยายเรื่องกฎแห่งกรรม...
ทุกๆชาติไปจะเป็นบุคคลที่มีปัญญาเลิศ
 
หากใครหมั่นสวดมนต์ในเรื่องกฎแห่งกรรม...
ชาติหน้า  ไปถึงไหนก็มีแต่คนนับถือ
 
หากใครพิมพ์หนังสือเรื่องกฎแห่งกรรม...
ชาติหน้า  จะมีกายมงคลรุ่งโรจน์
 
อย่าพูดว่ากฎแห่งกรรมไม่มีใครเห็น...
เพราะกรรมถ้าสนองเร็ว  ก็ตกที่ตัวเอง  ถ้ากรรมสนองช้า  ก็ตกที่ลูกหลาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น